Wednesday, January 5, 2011

Scenarios (The art of strategic conversation)

1. อนาคต ไม่ใช่สิ่งที่ทำนายได้ (Forecast)

ในโลกความจริงที่ผันผวนซับซ้อน Scenarios คือ เครื่องมือใหม่ (Methodology) ในการทำความเข้าใจอนาคต

Scenarios เปิดโอกาสให้ “มนุษย์” แสดงความเห็นอย่างอิสระเสรี โดยไม่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลเหมือนกับการทำนาย (Forecast) ดังนั้น ผู้คนในทุกสาขาอาชีพที่แตกต่างหลากหลาย จึงสามารถแลกเปลี่ยนสนทนากันได้ผ่าน “ภาษากลาง” นั่นคือ การเล่าเรื่อง (Story)

ประโยชน์ของ Story Telling คือ การเปิดกว้างต่อ “จินตนาการ” ทำให้ “ความหลากหลาย” ในตัวตนของแต่ละคนสามารถ “เผยแสดง (Unfold)” ออกมาได้อย่างเต็มที่ ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจว่า “ข้อมูลสำคัญ” จะไม่ตกหล่นไป เพราะถูกตีความว่า “ไม่สำคัญ ไม่น่าสนใจ” โดยความจำกัดของอคติส่วนตัว

ในท่ามกลางการสนทนาของผู้คนที่หลากหลายทั้งในและนอกเครือข่าย (Strategic Conversation) ย่อมทำให้เกิดการสร้าง “สถานการณ์จำลอง (Scenario)” ขึ้นมามากมาย ซึ่งมีข้อดี คือ ทำให้ “ผู้คน” ได้เปิดกว้างในการมองเห็น “อนาคต” จากแง่มุมที่หลากหลาย และนำไปสู่การยอมรับ “ความจริงใหม่” ได้ง่ายขึ้น

การระบุ “ความน่าจะเป็น” ของแต่ละ Scenario เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะ Scenario ไม่ได้ต้องการทำนายอนาคต (Forecast) แต่ต้องการให้ไอเดียที่หลากหลายได้รับการนำเสนอขึ้นมาให้มากที่สุด โดยเชื่อว่า ท่ามกลางการต่อสู้ของไอเดียที่หลากหลาย จะทำให้เกิดการผุดบังเกิด (Emerge) ของไอเดียใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งนำไปสู่การคัดเลือกตามธรรมชาติ (Natural Selection) และตกผลึกออกมาเป็น Scenario ที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 1 สถานการณ์จำลอง

2. การค้นหา Original Invention

Scenarios มีความเชื่อว่า องค์กรธุรกิจหรือปัจเจกชนที่จะเติบโตและพัฒนาตัวเองได้ จะต้องมี Original Invention หรือการสร้างสรรค์เฉพาะตัวที่คนอื่นไม่สามารถเลียนแบบได้ ดังนั้น การเปิดกว้างผ่านข้อมูลที่หลากหลายของกระบวนการ Scenarios ย่อมทำให้องค์กรธุรกิจและปัจเจกชนสามารถค้นพบ Original Invention ของตนเองได้

“ทำในสิ่งที่รัก” คือ วลีเด็ดในโลกธุรกิจของศตวรรษที่ 21 แต่เอาเข้าจริงก็มีไม่กี่คนที่จะสามารถค้นพบจุดเด่นและความต้องการที่แท้จริงของตนเอง ดังนั้น ภาวะเปิดกว้างทางความคิดและเชื่อมร้อยข้อมูลผ่าน Scenario ที่แตกต่างหลากหลาย ย่อมเป็น “วัตถุดิบ” ที่ดีในการค้นพบ Original Invention ที่ทำให้ผลงานของบริษัทหรือปัจเจกชนนั้นมี “คุณค่า” ในสายตาของผู้บริโภค เพราะไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้

3. ปรับตัวตนขององค์กร (Oraganization Self) ให้เข้ากับระบบที่ซับซ้อน (Ecology System)

หลังจากที่ค้นพบ Idea ซึ่งโดดเด่นระดับ Original Invention บางคนในองค์กรย่อมใจร้อนและปรารถนาจะให้ไอเดียที่ค้นพบได้แปรเปลี่ยนเป็นความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากตลาดอย่างรวดเร็ว โดยบางครั้งสิ่งที่ค้นพบยังเป็นเพียงแค่ Early Warning ของสังคมเท่านั้น ยังไม่เติบโตเข้มแข็งเพียงพอที่จะเป็น New Trend ดังนั้นการที่คนส่วนใหญ่ในสังคมจะไม่เห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์นี้ ย่อมเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เพราะการศึกษาสนใจเรื่องนี้มีต้นทุนที่สูงเกินไป ขณะที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ต้องรอให้ผ่านไปสักระยะผู้คนจึงค่อยใส่ใจอย่างจริงจัง นี่คือ ความจริงในโลกที่เป็นระบบซับซ้อน มีความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล ความเฉื่ยอในการรับรู้ของมนุษย์ ฯลฯ จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่เป็นเส้นตรง

Scenarios จึงสอนให้ “องค์กร” ที่ค้นพบ Original Invention ต้องรู้จักรอคอยอย่างอดทน และสร้างเครือข่ายอย่างกว้างขวาง เพื่อเข้าถึงความจริงที่ซับซ้อน เพื่อปรับปรุง Original Invention ให้สมบูรณ์และสอดคล้องกับโลกความจริงมากขึ้น เราต้องยอมรับ “ข้อจำกัด” ของโลกความจริง แต่ซึมซับเรียนรู้ความไม่สมบูรณ์

ในท้ายที่สุด กฏแห่งวิวัฒนาการจะช่วยขจัด idea ที่เป็นไปไม่ได้ และ idea ที่ถูกต้องจะค่อยๆโผล่ขึ้นมา ดังนั้น Original Invention ที่มีคุณค่า จะต้องสามารถสื่อสารกับ “ลูกค้า” และปรับตัวให้เข้ากับความต้องการลูกค้าและบริบทสังคมไทยโดยใช้ (Strategic Conversation) ที่ชาญฉลาดและเปิดกว้างต่อความจริง

ดังนั้น ระหว่างรอคอยให้ “กฎวิวัฒนาการ” ได้คัดเลือก New Trend องค์กรที่ฉลาดจะใช้เวลานี้ในการทดสอบ Original Invention ที่ตนเองค้นพบ โดยผ่าน “เครือข่ายทางสังคม” ที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อให้ “ผลิตภัณฑ์ใหม่” สามารถสื่อสารและพัฒนาเพื่อเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างยอดเยี่ยม

4. Strategy คือ องค์รวมของการปฏิบัติเพื่อค้นหาและพัฒนา Original Invention

ในท่ามกลาง “วิกฤตการเมือง” ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา Original Invention ของสังคมไทยเริ่มมีความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงนำไปสู่กระบวนการต่อสู้และคัดเลือกทางธรรมชาติของ idea ที่แตกต่างหลากหลาย ทุกบริษัท ทุกพรรคการเมือง และทุกภาคส่วนของสังคม ล้วนแต่พยายาม “ปรับตัว” และเปลี่ยนแปลง Paradigm เพื่อค้นหา Original Invention ของตัวเอง ท่ามกลาง “บริบทสังคมไทย” ที่กำลังถึงจุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
 
ที่มา S.I.U.